|
|
|
ตำบลป่ามะม่วง เป็นตำบลเก่าแก่ตำบลหนึ่งในอำเภอเมืองตาก ตำบลป่ามะม่วงมีมาตั้งแต่ครั้งเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ได้ย้ายเมืองไปทางใต้ ลงมาตามลำน้ำปิงที่บ้านป่ามะม่วง เป็นการย้ายในครั้งแผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชา ภายหลังที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชประกาศอิสรภาพแล้ว
เมืองตากที่ย้ายมาครั้งนี้ มาตั้งที่บ้านป่ามะม่วง ไม่ใช่จะเป็นเพียงเมืองหน้าด่าน ไว้ป้องกันกองทัพพม่าที่ยกมาทางด่านแม่ระเมาเท่านั้น แต่ยังเป็นเมืองที่กองทัพไทยเราใช้ชุมนุมพล เพื่อที่จะยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ในหลายครั้ง และครั้งต่อมาปรากฏตามหลักฐานประวัติศาสตร์ว่า มหาราชเจ้าของไทยได้เสด็จมาชุมนุมที่เมืองตากถึง 4 พระองค์ กองทัพพม่าเดินทางผ่าน ณ บ้านป่ามะม่วง ซึ่งเมืองหน้าด่านสำหรับป้องกันกองทัพพม่าที่ยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมา
ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ของกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ได้โปรดเกล้าให้นายสินมหาดเล็กเป็นข้าหลวงเชิญท้องตราราชสีห์ ขึ้นไปชำระความทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ ครั้งเมื่อนายสินมหาดเล็กได้รับความดีความชอบ แต่งตั้งให้เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตากแทนหลวงยกกระบัตรคนเก่าที่ถึงแก่กรรม และต่อมาเจ้าเมืองตากถึงแก่กรรมลงอีก หลวงยกกระบัตรสินจึงได้เลื่อนเป็นเจ้าเมืองตาก ซึ่งชาวเมืองตากพากันเรียกว่า พระยาตากสิน และมีจวนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ด้านตะวันตก เรียกกันว่า ตำหนักสวนมะม่วง เพราะมีมะม่วงป่าขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ตำหนักสวนมะม่วง ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 1 ตำบลป่ามะม่วง แต่ในปัจจุบันเปลี่ยนเป็นหมู่ที่ 6 ตำบลป่ามะม่วง บริเวณปากร่องน้ำลำห้วยแม่ท้อ ในอดีตตำบลป่ามะม่วง เป็นถิ่นพำนักและเป็นที่ตั้งของตำหนักพระเจ้าตาก เรียกว่า ตำหนักป่ามะม่วงในสมัยที่พระเจ้าตากได้มาปกครองเมืองตาก เพราะสถานที่แห่งนี้ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงพำนักมาก่อน และสร้างเสาหลักเมืองไว้ และให้ไพร่ฟ้าประชาชนแผ้วถางป่าทำนา ซึ่งต่อมาเรียกว่า ทุ่งหลวง เพื่อปลูกข้าวทำนาเก็บเป็นเสบียงในยามศึกสงคราม
จากการเล่าสืบต่อกันมาว่า แต่เดิมบริเวณที่ตั้งของตำบลป่ามะม่วงจะเป็นที่ทำนา ทำไร่ และทำสวน ของชาวบ้านตำบลระแหง ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้าม จากหลักฐานจะเห็นเป็นที่ราบลุ่ม ที่กว้างใหญ่เหมาะที่จะเป็นไร่นา ทำสวน และมีต้นมะม่วงขึ้นเป็นจำนวนมาก อยู่ติดลำห้วยแม่ท้อดินมีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากการเดินทางไปมาลำบากต้องนำเรือข้ามฟากไปมาชาวบ้านตำบลระแหง จึงอพยพครอบครัวมาตั้งรกรากอยู่ในไร่นาของตนเองมากขึ้นเนื่องๆ และเป็นหมู่บ้าน เรียกว่า บ้านป่ามะม่วงต่อมามีความเจริญมากขึ้น จึงเป็นตำบลป่ามะม่วง |
|
|
|
|
|
องค์การปริหารส่วนตำบลป่ามะม่วง ได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะจากสภาตำบล เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2539 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 113 ตอน 52 ง ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2539 |
|
|
|
|
|
องค์การปริหารส่วนตำบลป่ามะม่วง ตั้งอยู่ ม.3 ต.ป่ามะม่วง อ.เมือง จ.ตาก 63000 มีพื้นที่ประมาณ 43.8 ตารางกิโลเมตร |
|
|
   |
|
|
|
 |
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
ตำบลหนองบัวเหนือ จังหวัดตาก |
 |
|
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
ตำบลแม่ท้อ จังหวัดตาก |
|
 |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
แม่น้ำปิง จังหวัดตาก |
 |
|
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
ตำบลแม่ท้อ จังหวัดตาก |
|
|
|
     |
|
   |
|
    |
|
|
|
|
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปของตำบลป่ามะม่วง ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีป่าไม้และภูเขาสูง บางส่วนมีระดับความลาดเทไปทางทิศตะวันออกและมีที่ราบลุ่ม และมีราบริมฝั่งแม่น้ำปิงมีแม่น้ำปิงไหลผ่านทางทิศตะวันออกของตำบล พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้เพื่อทำการเกษตรและที่อยู่อาศัย |
|
|
|
|
|
สภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิในฤดูร้อน อากาศร้อนที่สุดในเดือนเมษายน อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 43 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูหนาวอากาศหนาวเย็นที่สุดเดือนมกราคม อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 18 องศาเซลเซียส โดยแบ่งช่วงฤดูต่างๆ ดังนี้ |

 |
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป จนถึงกลาง
เดือนพฤษภาคม |

 |
ดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป จนถึงเดือนตุลาคม |

 |
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ |
|
|
|
|
|
|
ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลป่ามะม่วงส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ค้าขาย และรับราชการ ซึ่งทำรายได้ให้กับประชาชนตลอดปี และควรมีการส่งเสริมให้มีอาชีพเสริมเพื่อช่วยให้มีรายได้ในช่วงที่ไม่มีการจ้างงาน |
|
|
|
   |
|
    |
|
|
|
|
|
จำนวนประชากรทั้งหมด 4,351 คน แยกเป็น |
|

 |
ชาย จำนวน 2,053 คน |
คิดเป็นร้อยละ 47.18 |
|

 |
หญิง จำนวน 2,298 คน |
คิดเป็นร้อยละ 52.82 |
|
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 1,947 ครัวเรือน |
|
ความหนาแน่นเฉลี่ย 99.34 คน/ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
 |
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
จำนวน
ครัวเรือน |
 |
|
1 |
|
บ้านป่ามะม่วง |
266 |
351 |
617 |
224 |
|
 |
2 |
|
บ้านป่ามะม่วง |
342 |
407 |
749 |
312 |
 |
|
3 |
|
บ้านหินโค้ว |
426 |
453 |
879 |
521 |
|
 |
4 |
|
บ้านปางสา |
131 |
122 |
253 |
108 |
 |
|
5 |
|
บ้านชะลาด |
393 |
419 |
812 |
259 |
|
 |
6 |
|
บ้านปากร้อง |
205 |
235 |
440 |
154 |
 |
|
7 |
|
บ้านส้มเกลี้ยง |
290 |
311 |
601 |
369 |
|
 |
|
|
รวม |
2,053 |
2,298 |
4,351 |
1,947 |
 |
|
|
   |
|
    |
|
|